อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
คำขวัญอำเภอท่าวังผา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ธรรมชาติงดงาม ข้าวหลามชวนลอง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
![]() | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อำเภอท่าวังผา เดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปัว ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้มีประกาศกระทรวงมหาไทยให้แบ่งตำบลริม ตำบลป่าคา ตำบลตาลชุม และตำบลยม ออกจากการปกครองของอำเภอปัว ตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าวังผา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะเป็น อำเภอท่าวังผา เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ที่ว่าการอำเภอท่าวังผาตั้งอยู่ บ้านสบยาว หมู่ที่ ๔ ตำบลท่าวังผา ยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของจังหวัดน่าน ตัวอำเภอมีแม่น้ำไหลผ่านและเส้นทางหลวงแผ่นดินสายน่าน – ท่งช้าง และ ท่าวังผา – เชียงคำ จ.พะเยา มีพื้นที่อาณาบริเวณ ๗๙๙ ตารางกิโลเมตร ความเป็นมาของนามว่าท่าวังผา คือ เป็นลักษณะของภูมิประเทศ เป็นเกาะแก่งในแม่น้ำน่าน มีแต่หินผาและเป็นวังน้ำอยู่มากมาย เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองปัวกับเมืองน่านในอดีต หากจะมองใน ด้านโบราณคดีแล้ว จะพบว่าชุมชนโบราณต้นกำเนินเมืองน่านซึ่งมีอายุมากกว่า ๘๐๐ ปี สร้างในสมัยพญาภูคา ปฐมกษัตริย์น่านแห่งราชวงค์ภูคา อยู่ในท้องที่ตำบลยม(รวมตำบลจอมพระ) ซึ่งในปัจจุบันยังคงสภาพสมบูรณ์ ์อยู่ในท้องที่บ้านเสี้ยว บ้านลอมกลาง บ้านทุ่งฆ้อง บ้านนานิคม บ้านถ่อน จากสภาพชุมชนนั้นเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ เพราะมีการค้นพบกำแพงเมือง วัดร้าง และพระพุทธรูปเป็นจำนวนมากในบริเวณลุ่มแม่น้ำย่าง ดังนั้นท่าวังผาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอปัวจึงเป็นเมืองเก่าแก่ยุคเดียวกับสุโขทัย | ![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
สภาพภูมิศาสตร์ อำเภอท่าวังผามีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาใหญ่น้อยสลับซับซ้อน มีพื้นที่ประมาณ ๗๙๙ ตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบร้อยละ ๖๐ ของพื้นที่ทั้งหมด คิดเป็นเนื้อที่ ๔๗๙ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒๙๙,๖๒๕ ไร่ เป็นภูเขาร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ทั้งหมด คิดเป็นเนื้อที่ ๓๒๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๙๙,๗๕๐ ไร่ และเป็นพื้นที่น้ำร้อยละ ๐.๕๗ ของพื้นที่ทั้งหมด คิดเป็นเนื้อที่ ๔.๕ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒,๘๔๗ ไร่ อำเภอท่าวังผา มีแม่น้ำสำคัญ ๖ สาย ได้แก่ แม่น้ำน่าน ลำน้ำยาว ลำน้ำย่าง ลำน้ำริน ลำน้ำสาย และลำน้ำคัวะ มีพื้นที่ห้วยหนอง คลอง บึง และอ่างเก็บน้ำ ึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญต่อภาคเกษตรกรรม ของอำเภอท่าวังผาเป็นอย่างมาก | ![]() | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว และตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ่อ อำเภอเมืองน่าน และตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลศิลาเพชร ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
อำเภอท่าวังผา แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๐ ตำบล ๙๑ หมู่บ้าน ดังนี้
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
การศึกษา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑. โรงเรียนประถมศึกษา ๔๗ โรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ๖ โรงเรียน ๒. โรงเรียนมัธยมศึกษา ๔ โรงเรียน ๓. โรงเรียนพระปริยัติธรรม ๒ โรงเรียน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปรับปรุงข้อมูลวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๖ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูล ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอท่าวังผา (นางจิตรมาลา จันทร์ทอง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐ |
ประเพณีที่สำคัญ อ.ท่าวังผา
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปรับปรุงข้อมูลวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๖ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูล ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอท่าวังผา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐ |
ศาสนสถาน อ.ท่าวังผา
รายชื่อศาสนสถาน คณะสงฆ์ของอำเภอท่าวังผาได้แบ่งการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็น ๘ ตำบล มี ๔๘ วัด ดังนี้ |
ตำบลป่าคา ๑. วัดฝายมูล ๒. วัดนิโครธาราม ๓. วัดสบย่าง ๔. วัดหนองม่วง ๕. วัดหนองบัว ๖. วัดดอนแก้ว |
ตำบลริม ๑. วัดสุวรรณาวาส ๒. วัดชนะไพรี ๓. วัดศิริธาดา ๔. วัดป่าไคร้ ๕. วัดเชียงแล |
ตำบลท่าวังผา ๑. วัดอุทัยราษฎร์ ๒. ศิลามงคล ๓. วัดสุทธาราม ๔. วัดมังคลาราม ๕. วัดปูคา |
ตำบลผาตอ ๑. วัดนาทราย ๒. วัดปิตุราษฎร์ ๓. วัดนาหนุน ๔. วัดราษฎร์อุดม ๕. วัดไพรสณฑ์๖. วัดแหน ๗. วัดวังทอง |
ตำบลศรีภูมิ ๑. วัดพุ่มมาลา ๒. วัดดอนมูล ๓. วัดดอนตัน ๔. วัดอัมพวัน ๕. วัดวัดโพธิวฎาราม |
ตำบลตาลชุม ๑. วัดตาลชุม ๒. วัดสุคันธาราม ๓. วัดสบหนอง ๔. วัดดอนแก่ง ๕. วัดวัดจักรวรรณ ๖. วัดห้วยแขม ๗. วัดดอนชัย |
ตำบลยม ๑. วัดศรีมงคล ๒. วัดทุ่งฆ้อง ๓. วัดเชียงยืน ๔. วัดโพธิ์ไทร ๕. วัดพระธาตุจอมพริก ๖. วัดน้ำไคร้ ๗. วัดสันติการาม |
ตำบลจอมพระ ๑. วัดพิกุลทอง ๒. วัดนาฝ่า ๓. วัดนาเผือก ๔. วัดยู้ ๕. วัดน้ำฮาว ๖. วัดใหม |
โบสถ์คริสต์ จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ บ้านสบเป็ด ตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน |
ปรับปรุงข้อมูลวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๖ |
ข้อมูล ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอท่าวังผา |
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐ |
บุคคลสำคัญด้านวัฒนธรรม อ.ท่าวังผา
บุคคลสำคัญด้านวัฒนธรรม | ||
ชื่อ /ฉายา | ตำแหน่ง | |
-พระครูพรหมวีรสุนทร | เจ้าคณะอำเภอท่าวังผา | |
-พระครูอุปถัมภ์นันทกิจ | รองเจ้าคณะอำเภอท่าวังผา | |
-นายพิทักษ์ ณ น่าน | ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าวังผา ,ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลท่าวังผา | |
-นายสง่า อินยา | ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลริม | |
-นายเสวียน อะทะไชย | ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลแสนทอง | |
-นายทองดี เนตรวีระ | ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลผาตอ | |
-นายสมชาย จันทรรางกูล | ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลตาลชุม | |
-นายจำเนียร สุทธิแสน | ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลจอมพระ | |
-นายอินถา ธนะขว้าง | ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลผาทอง | |
-นายธีรพันธ์ วาฤทธิ์ | ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลป่าคา | |
-นายสวัสดิ์ อ่องคำ | ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลศรีภูมิ | |
ปรับปรุงข้อมูลวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ | ||
ข้อมูล ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอท่าวังผา (นางจิตรมาลา จันทร์ทอง) | ||
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐ |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น อ.ท่าวังผา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปรับปรุงข้อมูลวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๖ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูล ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอท่าวังผา (นางจิตรมาลา จันทร์ทอง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐ |