ประวัติอำเภอเวียงสา

      อำเภอเวียงสา  เดิมเรียกว่า “เวียงป้อ–เวียงพ้อ” หรือ “ เมืองป้อ – เมืองพ้อ ” ตามตำนานเล่าว่า  ถ้ามีเหตุการณ์ร้ายแรงใดเกิดขึ้นมักเรียกผู้คนที่มีจำนวนไม่มากนัก
ที่อยู่ตามบริเวณนั้น มาป้อ (รวม) กันที่ปากสา (ปากแม่น้ำสา ที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน ) เวียงป้อเป็นเมืองที่อยู่ ทางทิศใต้ของนครน่านพงศาวดารน่าน ได้บันทึกไว้เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๑๓๙  
สมัยเจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ ๓๑  ระบุว่าได้เมืองป้อเป็นหัวเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อ นครน่านและมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจนถึง  สมัยรัชกาลที่ ๑  
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๓๒๙)  พระเจ้าอัตถวรปัญโญเป็นเจ้านครน่าน  พ.ศ.  ๒๔๔๐  มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. ๑๑๖  ได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง เวียงป้อไปขึ้นกับ แขวงบริเวณน่านใต้  ต่อมาได้ตั้งเป็น  “ กิ่งอำเภอเวียงสา ” พ.ศ. ๒๔๕๑  ได้ยกฐานะเป็น  ” อำเภอเวียงสา ”  จนถึงปัจจุบัน

ทิศเหนือ          ติดต่อกับ    อำเภอบ้านหลวง อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง และอำเภอแม่จริม
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ    แขวงไซยบูรี  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้              ติดต่อกับ   อำเภอนาน้อย
ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ   อำเภอร้องกวาง และอำเภอสอง (จังหวัดแพร่)

การคมนาคม
อำเภอเวียงสา มีเส้นทางการคมนาคมที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด หลายเส้นทาง ดังนี้
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  ๑๐๑    (ร้องกวาง-เวียงสา-น่าน)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  ๑๐๒๖  (เวียงสา-นาน้อย)
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  ๑๑๖๒  (เวียงสา-บ้านน้ำมวบ)

การปกครองอำเภอเวียงสา อำเภอเวียงสา  แบ่งการปกครองออกเป็น  ๑๗  ตำบล  ๑๒๗  หมู่บ้าน

การปกครองท้องถิ่น อำเภอเวียงสา มีหน่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ๑๖  แห่ง   ประกอบด้วย  เทศบาลตำบล    ๓   แห่ง     องค์การบริหารส่วนตำบล   ๑๓   แห่ง 

ลำดับที่ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหมายเหตุ
เทศบาลตำบลเวียงสา 
2เทศบาลตำบลกลางเวียงมีพื้นที่รวม ต.กลางเวียง และ ต.ปงสนุก
3เทศบาลตำบลขึ่ง 
4อบต.ไหล่น่าน 
5อบต.ตาลชุม 
6อบต.นาเหลือง 
7อบต.ส้าน 
8อบต.น้ำมวบมีพื้นที่รวม ต.น้ำมวบ  และ ต.ส้านนาหนองใหม่
9อบต.น้ำปั้ว 
10อบต.ยาบหัวนา 
11อบต.อ่ายนาไลย 
12อบต.แม่ขะนิง 
13อบต.แม่สาคร 
14อบต.จอมจันทร์ 
15อบต.แม่สา 
16อบต.ทุ่งศรีทอง 

ด้านการศึกษา
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน ๑ แห่ง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเวียงสา เป็นสถานศึกษาสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีที่ตั้งอาคารสำนักงานที่บ้านภูเพียง หมู่ที่ ๖ ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และมีศูนย์บริการการศึกษานอกระบบ ประจำตำบล ๑๗ ตำบล

ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงสา
ตั้งอยู่ที่บ้านบุญยืน หมู่ ๔ ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
(๑) ศูนย์การเรียนชุมชนวัดไหล่น่าน ตั้งอยู่บ้านไหล่น่าน หมู่ ๑ ตำบลไหล่น่าน
(๒) ศูนย์การเรียนชุมชนวัดวัวแดง ตั้งอยู่ที่บ้านวัวแดง หมู่ ๑ ตำบลแม่สา

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
(๑) ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดไห่น่าน ตั้งอยู่ที่วัดไหล่น่าน หมู่ ๑ ตำบลไหล่น่าน
(๒) ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดน้ำมวบ ตั้งอยู่ที่วัดน้ำมวบ หมู่ ๑ ตำบลน้ำมวบ
(๓) ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดวังคีรี ตั้งอยู่ที่วัดวังคีรี หมู่ ๑ ตำบลน้ำปั้ว
(๔) ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดผาเวียง ตั้งอยู่ที่วัดผาเวียง หมู่ ๕ ตำบลส้าน
(๕) ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดขึ่ง ตั้งอยู่ที่วัดขึ่ง หมู่ ๓ ตำบลขึ่ง
(๖) ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดใหม่เจริญราษฎร์ ตั้งอยู่ที่วัดใหม่เจริญราษฎร์ หมู่ ๔ ตำบลอ่ายนาไลย

สถานศึกษา
๑. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต ๑ จำนวน ๕๘ โรงเรียน
๒. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๗ จำนวน ๔ โรงเรียน
๓. สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน จำนวน ๒ โรงเรียน
๔. สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน ๑ โรงเรียน

ข้อมูลวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๖
ข้อมูล จากผู้ประสานงานวัฒดนธรรมอำเภอเวียงสา

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐-๑ ต่อ ๑๓-๑๘ : โทรสาร ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐ email : nan-culture@hotmail.com

แชร์