คำขวัญอำเภอสองแคว

มะแข่นหอมรสดี ชมวิถีหกชนเผ่า จุดผ่อนปรนฯไทย-ลาว เที่ยวหนาวอุทยานฯ ถ้ำสะเกิน

ประวัติอำเภอสองแคว

เดิมอำเภอสองแคว  จังหวัดน่าน  เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเชียงกลาง  ประกอบด้วย ๓ ตำบล ๒๕ หมู่บ้าน  ได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ โดยใช้ชื่อ  กิ่งอำเภอสองแคว  ตั้งอยู่ที่บ้านสองแคว  หมู่ที่ ๕ ตำบลนาไร่หลวง  ซึ่งคำว่า  “สองแคว” มีความหมายว่า  ลำน้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน คือ ลำน้ำยาวและลำน้ำยอด และต่อมามีพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๐  ให้ยกฐานะเป็น “อำเภอ”เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๐

ภูมิศาสตร์

อำเภอสองแคว เป็นอำเภอชายแดน ตั้งอยู่ถนนทางหลวงหมายเลข ๑๑๔๘ (ท่าวังผา–เชียงคำ) บ้านสองแคว หมู่ที่ ๕ ตำบลนาไร่หลวง อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดน่าน ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ ๗๖ กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๗๗๔ กิโลเมตร


ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เมืองเชียงฮ่อน)
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอทุ่งช้าง และ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอปง และ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

มีแนวเขตติดต่อประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร และมีจุดผ่อนปรนชายแดน จำนวน ๑ แห่ง คือ จุดผ่อนปรนชายแดนไทย – ลาว บ้านใหม่ชายแดน หมู่ที่ ๙ ตำบลชนแดน อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน ประมาณร้อยละ ๘๕ ของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ราบที่ใช้ในการทำการเกษตรคิดเป็นร้อยละ ๑๕ ของพื้นที่ และมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น ๕๖๒.๙๗ ตารางกิโลเมตร

การปกครอง

อำเภอสองแคว แบ่งการปกครองออกเป็น ๓ ตำบล ๒๕ หมู่บ้าน ดังนี้
๑. ตำบลนาไร่หลวง จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน
๒. ตำบลชนแดน จำนวน ๙ หมู่บ้าน
๓. ตำบลยอด จำนวน ๖ หมู่บ้าน
การปกครองท้องถิ่น

อำเภอสองแควมีหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ๓ แห่ง คือ เทศบาล ๑ แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล ๒ แห่ง ดังนี้
๑. องค์การบริหารส่วนตำบลนาไร่หลวง
๒. องค์การบริหารส่วนตำบลชนแดน
๓. เทศบาลตำบลยอด
การสาธารณสุข
อำเภอสองแควมีโรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง ๑ แห่ง มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๓ แห่ง สาธารณสุขชุมชน ๓ แห่ง

การศึกษา อำเภอสองแควมีโรงเรียน จำนวน ๑๓ แห่ง ดังนี้

๑.โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคี  รัชมังคลาภิเษก (ม.๑- ๖)
๒.โรงเรียนบรรณโศภิษฐ์  (โรงเรียนขยายโอกาส )
๓.โรงเรียนบ้านผาหลัก   (โรงเรียนขยายโอกาส)
๔.โรงเรียนสมาคมพยาบาลไทย (โรงเรียนขยายโอกาส)
๕.โรงเรียนบ้านปางปุก๖.โรงเรียนบ้านสองแคว๗.โรงเรียนบ้านน้ำโมง
๘.โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนผู้บังคับบัญชาลูกเสือรถไฟมักกะสัน บ้านห้วยเลา 
๙.โรงเรียนบ้านปางกอม
๑๐.โรงเรียนบ้านสะเกิน
๑๑.โรงเรียนบ้านยอด
๑๒.โรงเรียนบ้านผาสิงห์
๑๓.โรงเรียนบ้านปางส้าน

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสองแคว ดังนี้

๑. ศูนย์ กศน.ตำบล จำนวน ๓ แห่ง
๒. ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” จำนวน ๔ แห่ง
๓. ห้องสมุดประชาชน จำนวน ๑ แห่ง บรรณารักษ์ จำนวน ๑ คน
๔. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๒๕ แห่ง

การคมนาคม การคมนาคม การติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด และจากที่ว่าการอำเภอสองแควไปยังหมู่บ้าน

  • ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑๑๔๘ (ท่าวังผา – เชียงคำ)
  • ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑๒๗๙ (บ.สองแคว – บรรณโศภิษฐ์)
  • ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑๐๙๗ (อ.เชียงกลาง – อ.สองแคว)

ปรับปรุงเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๖
แหล่งข้อมูล นายสมาน บัวรัตน์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอสองแคว

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐-๑ ต่อ ๑๓-๑๘ : โทรสาร ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐ email : nan-culture@hotmail.com

แชร์