คำขวัญอำเภอทุ่งช้าง

“พิพิธภัณฑ์เรืองรอง ส้มสีทองเรืองนาม
สาวงามพริ้มพราย ผ้าลายน้ำไหลไทลื้อ ยึดถือธรรมะ
พระพุทธรูปเจ็ดร้อยปี อนุสรณีย์ทุ่งช้าง”

ประวัติอำเภอ             
อำเภอทุ่งช้างในอดีตมีฐานะเป็นแขวง เรียกว่า “แขวงขุนน่าน” ผู้ครองแขวง ชื่อ เจ้าพรหม ณ น่าน   ปกครองแขวงขุนน่าน  ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๖ และต่อมาแขวงขุนน่าน ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ มีชื่อว่า “อำเภอและ” โดยมีอาคารที่ว่าการอำเภอ  ตั้งอยู่ ณ บ้านเฟือยลุง หมู่ที่ ๙ ตำบลและ  

  ต่อมา ได้ย้ายอาคารที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่ ณ ที่ปัจจุบัน 
เมื่อปี ๒๕๐๔ ซึ่งเป็นเขตบ้านทุ่งช้าง หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งช้าง จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่จาก “อำเภอและ” มาเป็น “อำเภอทุ่งช้าง” จนถึงปัจจุบันนี้    
ปัจจุบัน มีนายเกียรติศักดิ์ ป้อมทองคำ ดำรงตำแหน่ง  นายอำเภอทุ่งช้าง

ภูมิศาสตร์อำเภอทุ่งช้างตั้งอยู่ทางเหนือสุดของจังหวัดน่าน    บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๐    ระยะทางห่างจากจังหวัดน่าน   ๙๐   กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด ๘๐๖.๗๓๑  ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๐๔,๒๐๖.๘๗๕ ไร่ โดยมีอาณาเขตดังนี้               
ทิศเหนือ             ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว               
ทิศตะวันออก       ติดกับอำเภอเฉลิมพระเกียรติ,อำเภอบ่อเกลือ               
ทิศใต้                ติดกับอำเภอเชียงกลาง               
ทิศตะวันตกตก    ติดกับกิ่งอำเภอสองแคว,สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว               


ลักษณะทั่วไป
เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่เป็นภูเขาถึง ร้อยละ ๙๐ อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน หนาวจัดในฤดูหนาว และฝนตกชุกในฤดูฝน  
แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่าน คือ
๑.  แม่น้ำน่าน  
๒.  ลำน้ำและ   
๓.  ลำน้ำเลียบ   
๔.  ลำน้ำงอบ             
๕.  ลำน้ำหลุ 
๖.  ลำน้ำแงน  
๗.  ลำน้ำปอน  
๘.  ลำน้ำเลียบ          

การปกครอง
อำเภอทุ่งช้าง  แบ่งการปกครองออกเป็น  ๔ ตำบล ๔๐ หมู่บ้าน  ดังนี้                      
๑.  ตำบลทุ่งช้าง ๗   หมู่บ้าน   
๒.  ตำบลและ   ๑๔  หมู่บ้าน  
๓.  ตำบลงอบ    ๑๑ หมู่บ้าน  
๔.  ตำบลปอน  ๘ หมู่บ้าน     

อำเภอทุ่งช้างมีหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  ๕ แห่ง  คือ เทศบาล ๑ แห่ง  องค์การบริหารส่วนตำบล ๔ แห่ง ดังนี้
๑.   องค์การบริหารส่วนตำบล และ
๒.  องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง
๓.  องค์การบริหารส่วนตำบลงอบ
๔.  องค์การบริหารส่วนตำบลปอน
๕.  เทศบาลตำบล                   
อำเภอทุ่งช้างเป็นอำเภอเล็ก ๆ  ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยพื้นราบ  นับถือศาสนาพุทธ แต่มีบางส่วนเป็นชาวไทยภูเขา  เช่น  ถิ่น  ม้ง  ขมุ  เหาะ    นับถือผีและศาสนาคริสต์ 

สถานศึกษา ในอำเภอทุ่งช้าง จำนวน ๑๓ แห่ง
๑. โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งช้าง หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน  ๕๕๑๓๐
๒. โรงเรียนมณีพฤกษ์ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลงอบ  อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐
๓. ชุมชนบ้านเฟือยลุง หมู่ที่ ๙  ตำบลทุ่งช้าง  อำเภอทุ่งช้าง  จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐
๔. บ้านแพะกลาง หมู่ที่ ๖  ตำบลทุ่งช้าง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐
๕. บ้านน้ำพิ หมู่ที่ ๓ ตำบลทุ่งช้าง  อำเภอทุ่งช้าง  จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐
๖. บ้านเวียงสอง หมู่ที่ ๔ ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐
๗. บ้านน้ำสอด หมู่ที่ ๑๒ ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐
๘. บ้านปางแก หมู่ที่ ๗ ตำบลทุ่งช้าง  อำเภอทุ่งช้าง จังหวัด ๕๕๑๓๐
๙. ไทยรัฐวิทยา ๙๘ (บ้านงอบ) หมู่ที่ ๑๐ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน  ๕๕๑๓๐
๑๐. บ้านห้วยสะแตง หมู่ที่ ๒ ตำบลงอบ  อำเภอทุ่งช้าง จังหวัด ๕๕๑๓๐
๑๑. บ้านน้ำลาด หมู่ที่ ๗ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐
๑๒. บ้านปอน หมู่ที่ ๗ ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐
๑๓. บ้านน้ำเลียง หมู่ที่ ๑  ตำบลปอน  อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ
วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
การบริหารจัดการชุมชน เพื่อสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

พันธกิจ

  1. พัฒนาระบบและกลไกส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ของชุมชน
  2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการบริหารจัดการชุมชน
  3. ส่งเสริมการพัฒนาระบบกลไกและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  4. พัฒนาสมรรถนะองค์กรในการทำงานเชิงบูรณาการ

ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. สร้างสรรค์ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข
  2. เสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน
  3. ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  4. เสริมสร้างธรรมาภิบาลและความมั่นคงของทุนชุมชน
  5. เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง

ข้อมูลวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๖
รวมรวมข้อมูล ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอทุ่งช้าง

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐-๑ ต่อ ๑๓-๑๘ : โทรสาร ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐ email : nan-culture@hotmail.com

แชร์