คำขวัญอำเภอูภูเพียง

“ภูเพียงแช่แห้ง เรือแข่งล้านนา วังปลา มะไฟจีน ศิลปินพื้นบ้าน”

คำขวัญอำเภอูภูเพียง

“ภูเพียงแช่แห้ง เรือแข่งล้านนา วังปลา มะไฟจีน ศิลปินพื้นบ้าน”

ประวัติอำเภอภูเพียง

อำเภอภูเพียง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดน่าน โดยแยกออกจากอำเภอเมืองน่าน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๐ มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐

และได้รับยกฐานะเป็นอำเภอตามพระราชกฤษฎีกา ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔๖ ก. ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ โดยมีผลบังคับเมื่อพ้นสิบห้าวัน
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งส่งผลมีฐานะเป็นอำเภอตั้งแต่วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๐

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขาและริมฝั่งแม่น้ำ พื้นที่ส่วนใหญ่ ๖๕ % เป็นภูเขา ๓๕ % เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและใช้ประกอบอาชีพทางการเกษตร สำหรับส่วนที่เป็น ที่ราบลุ่มอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดน่าน เนื้อที่/พื้นที่ ๕๐๘.๒๓๖ ตร.กม.

ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอภูเพียงตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเมืองน่านและอำเภอสันติสุข
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอแม่จริม
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเวียงสา
ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอเมืองน่าน

การนับถือศาสนา ศาสนาพุทธ , ศาสนาคริสต์

การแบ่งเขตการปกครอง การปกครองของอำเภอภูเพียงมี ๗ ตำบล ๖๑ หมู่บ้าน ดังนี้

๑. ตำบลม่วงตึ๊ด ๕ หมู่บ้าน
๒. ตำบลนาปัง ๖ หมู่บ้าน

๓. ตำบลน้ำแก่น ๑๐ หมู่บ้าน

๔. ตำบลน้ำเกี๋ยน ๕ หมู่บ้าน

๕. ตำบลเมืองจัง ๑๑ หมู่บ้าน

๖. ตำบลท่าน้าว ๗ หมู่บ้าน

๗. ตำบลฝายแก้ว ๑๗ หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น มีองค์การบริหารส่วนตำบล ๗ แห่ง
๑. องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลม่วงตึ๊ด
๒. องค์การบริหารส่วนตำบลนาปัง ตำบลนาปัง
๓. องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำแก่น ตำบลน้ำแก่น
๔. องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกี๋ยน ตำบลน้ำเกี๋ยน
๕. องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองจัง ตำบลเมืองจัง
๗. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้าว ตำบลท่าน้าว
๘. องค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว ตำบลฝายแก้ว

สถานศึกษา
๑. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอภูเพียง
๒. ห้องสมุดประชาชนอำเภอภูเพียง
๓. โรงเรียนปริยัติธรรมวัดพระธาตุแช่แห้ง

๔. โรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาน่าน เขต ๑ จำนวน ๒๑ แห่ง

๑. โรงเรียนบ้านก้อด ตำบลท่าน้าว
๒. โรงเรียนบ้านทุ่งน้อย ตำบลฝายแก้ว
๓. โรงเรียนบ้านท่าล้อ ตำบลฝายแก้ว
๔. โรงเรียนบ้านนาเหลืองม่วงขวา ตำบลน้ำแก่น
๕. โรงเรียนบ้านน้ำลัดสบแก่น ตำบลน้ำแก่น
๖. โรงเรียนบ้านน้ำเกี๋ยน ตำบลน้ำเกี๋ยน
๗. โรงเรียนบ้านน้ำแก่นกลาง ตำบลน้ำแก่น
๘. โรงเรียนบ้านน้ำแก่นเหนือ ตำบลน้ำแก่น
๙. โรงเรียนบ้านบุปผาราม ตำบลฝายแก้ว
๑๐. โรงเรียนบ้านป่าสัก ตำบลฝายแก้ว
๑๑. โรงเรียนบ้านฝายแก้ว ตำบลฝายแก้ว
๑๒. โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ ตำบลนาปัง
๑๓. โรงเรียนบ้านหนองรังมิตรภาพที่ 107 ตำบลท่าน้าว
๑๔. โรงเรียนบ้านหัวนา ตำบลนาปัง
๑๕. โรงเรียนบ้านหัวเวียงเหนือ ตำบลฝายแก้ว
๑๖. โรงเรียนบ้านหาดเค็ด ตำบลเมืองจัง
๑๗. โรงเรียนบ้านห้วยคำ ตำบลฝายแก้ว
๑๘. โรงเรียนบ้านห้วยไฮ ตำบลฝายแก้ว
๑๙. โรงเรียนบ้านเมืองจัง ตำบลเมืองจัง
๒๐. โรงเรียนวัดพระธาตุแช่แห้ง ตำบลม่วงตึ๊ด
๒๑. โรงเรียนบ้านม่วงตึ๊ด ตำบลม่วงตึ๊ด

๕. โรงเรียนในสังกัด สำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๗
๑. โรงเรียนน่านนคร ตำบลนาปัง
๒. โรงเรียนศรีนครน่าน ตำบลเมือจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
๕. โรงเรียนในสังกัด สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
๑. โรงเรียนน่านปัญญานุกูล ตำบลม่วงตึ๊ด

ปรับปรุงเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๖
แหล่งข้อมูล ผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอภูเพียง

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐-๑ ต่อ ๑๓-๑๘ : โทรสาร ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐ email : nan-culture@hotmail.com

ประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง
ความเป็นมา
งานประเพณีหกเป็งนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งเป็นงานที่สำคัญของจังหวัดน่านจะได้ไปปฏิบัติ ตามประเพณีอันดีงามที่ปฏิบัติสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษชน เพื่อนมัสการองค์พระธาตุแช่แห้ง ซึ่งจะมีพิธีสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม การปฏิบัติธรรม นุ่งขาวห่มขาว การสวดมนต์เทศมหาชาติ รวมถึงการละเล่น ทางศิลปวัฒนธรรม รวมถึง การแข่งขันประกวดการตี กลองปู่จา กลองแอว การจ๊อย การซอ การอ่านค่าว เป็นต้น
กิจกรรม
๑.ขบวนหลวงแห่ขึ้นพระธาตุแช่แห้ง ของอำเภอภูเพียงและอำเภอเมืองน่าน
๒.ขบวนแห่ครัวตานของแต่ละอำเภอ ในจังหวัดน่าน
๓.การแสดงข่วงวัฒนธรรมของแต่ละตำบล ในอำเภอภูเพียง รวมทั้งหมด ๗ ตำบล
๔.การแสดงของดีและครัวตานของอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน
๕.วิถีชีวิตชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและของดีเมืองน่าน
๖.การแสดงทางวัฒนธรรม เช่น การตีกลองเอว การฟ้อนเจิง การจุดบอกไฟดอก
การตีกลองปูจา สำหรับการตีกลองปูจา แบ่งเป็น ประเภทผู้สูงอายุ ประเภทเยาวชน ประเภทเด็ก
๗.การจัดแสดงและจำหน่ายอาหารพื้นเมืองน่าน
๘.การแสดงศิลปะพื้นบ้าน สะล้อ ซอ ปิน
๙.กิจกรรมไม้ดอกไม้ประดับ
วัน เดือน ปี ที่ดำเนินการ วันที่ ๒๐ – ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๖
สถานที่จัดกิจกรรม วัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน


ประเพณีต๋านสลากภัตร
ความเป็นมา
ประเพณี”ตานก๋วยสลาก” หรือ “กิ๋นสลาก” เป็นประเพณีที่ชาวเหนือถือสืบเนื่องมาเป็นเวลานานแล้ว การถวายก๋วยสลากจะเริ่มในราวเดือน 12 เหนือ
(คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11 ใต้) การถวายสลากภัตของวัดพระธาตุแช่แห้ง จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีจะนิมนต์หัววัด (เจ้าอาวาส) ต่าง ๆ ในอำเภอภูเพียง และอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน มารับถวายสลากภัตเป็นประจำ

สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อถวายอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือทำบุญเพื่อเป็นกุศลในภายภาคหน้า

กลุ่มคน ความเชื่อ คนในพื้นที่อำเภอภูเพียง เชื่อกันว่า พระธาตุแช่แห้ง เป็นพระธาตุที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของจังหวัดน่าน นับตั้งแต่บรรพชน ต้นตระกูล เป็นต้นมา ต่างคนต่างได้ร่วมสร้างพระธาตุแช่แห้งจากก้อนอิฐก้อนแรกจนกลายเป็นพระธาตุแช่แห้ง และอุทิศสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด อุทิศแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน หรือโอกาสเพื่อกล่าวคำอุทิศไปให้บรรพบุรุษ

วัน เดือน ปี ที่ดำเนินการ ตุลาคม – พฤศจิกายน ของทุกปี

สถานที่จัดกิจกรรม วัดในพื้นที่อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน


ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
ความเป็นมา
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” ด้วยว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มาสู่โลกมนุษย์หลังวันออกพรรรษานั้นเล่ากันว่ามีเทวดา
จำนวนมากได้ตามส่งเสด็จอย่างสมพระเกียรติพระพุทธองค์จึงทรงเนรมิตให้เทวดามนุษย์และสัตว์นรกมองเห็นกันและกันตลอดทั้ง ๓ โลก คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรก อีกทั้งในวันนี้การลงโทษในเมืองนรกได้ยุติลงชั่วคราว จึงเรียกว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” การตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีที่ชาวพุทธทั่วประเทศปฏิบัติสืบเนื่องกันมา วันตักบาตรเทโวโรหณะ จัดทำขึ้นหลังวันออกพรรษา ๑ วัน คำว่า ?เทโวโรหณะ? แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก หมายความว่า วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ประเพณีการตักบาตรเทโวโรหณะ นับว่าเป็นประเพณีที่ สืบเนื่องมาจากพุทธศาสนาอันเป็นพิธีมงคล ที่สมควรอนุรักษ์ไว้ เพราะประเพณีนี้แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนิกชนยังมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา แล้วยังมีคุณค่าและคติธรรม บ่งบอกให้เห็นถึงความศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาไม่เสื่อมคลาย

วัน เดือน ปี ที่ดำเนินการ จัดตักบาตรเทโวโรหณะ หลังจากวัดออกพรรษา ๑ วัน โดย คณะสงฆ์อำเภอภูเพียง ร่วมกับ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง เล็งเห็นความสำคัญของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันตักบาตรเทโวโรหณะ

กิจกรรม พิธีทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเทศนา

สถานที่จัดกิจกรรม วัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน


พิธีสืบชาตาหลวง เครื่องสืบชาตาสูงที่สุดในโลก ๙.๙๙ เมตร
ความเป็นมา การสืบชาตา หมายถึง การต่ออายุให้ยืดยาวออกไป มีความเป็นสิริมงคล มีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ปราศจากโรคาพยาธิ ตลอดถึงคลาดแคล้วจากเภทภัยทั้งหลาย และให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป ประเพณีการ สืบชาตาคนนั้น เป็นประเพณีมงคลที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง นิยมทำกันหลายโอกาส เช่น เนื่องในวันคล้ายวันเกิดได้เลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ได้รับโชคลาภ ขึ้นบ้านใหม่ ย้ายบ้านไปอยู่ที่แห่งใหม่ หรือมี ผู้ทำนายทายทักว่า ชาตาไม่ดี ชาตาขาด ทำอะไรไม่ค่อยเจริญ เต็มไปด้วยเคราะห์หามยามร้ายมักมีอุบัติเหตุเภทภัยหรือไม่ก็เจ็ดออด ๆ แอด ๆ สามวันดีสี่วันไข้ไม่ค่อยสดชื่นแจ่มใสก็จะนิยมกันสืบชาตาต่ออายุเพื่อให้คลาด ปราศจากโรคาพยาธิและเภทภัยทั้งหลายเป็นอยู่ด้วยความสุขความเจริญตลอดไป
กิจกรรม พิธีจัดขึ้นในวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี ทางวัดพระธาตุได้จัดเตรียมเครื่องสืบชาตาสูงที่สุดในโลก ๙.๙๙ เมตร สำหรับให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้เข้าร่วมพิธี พร้อมกัน พิธีการสืบชาตาหลวง โดย พระคณาจารย์จากวัด ในอำเภอภูเพียง เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ รับโชคปีใหม่

สถานที่จัดกิจกรรม วัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน


สวดมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ วัดพระธาตุแช่แห้ง
ความเป็นมา วัดพระธาตุแช่แห้ง ดำเนินการตามนโยบายของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการจัดงานสวดมนตฺ์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ เพราะในช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ของทุกปี ถือเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและวิถีชีวิต ของคนไทย ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนส่วยใหญ่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดงานรื่นเริง และมหรสพที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นช่วงระหว่างการสิ้นสุดของวันที่ ๓๑ ธันวาคม กับ วันที่ ๑ มกราคมของปีถัดไป ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดงานอย่างสนุกสนาน บางแห่งเติมไปด้วยอบายมุข มั่วสุม กินเหล้า ฟังเพลง ขาดสติ ซึ่งเป็นเรื่องส่งเสริมให้มีอบายมุขในคืนวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ บ้างก็เกิดอุบัติเหตุ บ้างก็เกิดเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน เกิดปัญหาตามมาตามข่าวลงหนังสือพิมพ์เป็นประจำทุกปี ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
กิจกรรม พิธีจัดขึ้นในวันที่ ๓๑ ธันวาคม และ วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี

สถานที่จัดกิจกรรม วัดพระธาตุแช่แห้ง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน


งานประเพณีห้าเป็ง
ความเป็นมา งานประเพณีห้าเป็ง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ เหนือ (เดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นงานประจำปีของปิดทองพระเจ้าทันใจ วัดนาปัง ตำบลนาปัง วัดสว่างอรุณ ตำบลน้ำแก่น และวัดแช่พลาง ตำบลท่าน้าว ที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ เพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ให้คงอยู่สืบไป การจัดงานประเพณีนมัสการ จะมีพิธีทำบุญ ตักบาตร พิธีสรงน้ำพระธาตุ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ให้มีความสุข ความเจริญ พิธีสวดมนต์พระพุทธมนต์ ธรรมเทศนา พิธีเวียนเทียน การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

กิจกรรม พิธีจัดขึ้นตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ เหนือ (เดือนกุมภาพันธ์)

สถานที่จัดกิจกรรม วัดแสงดาว ตำบลฝายแก้ว , วัดนาปัง ตำบลนาปัง , วัดสว่างอรุณ ตำบลน้ำแก่น , วัดแช่พลาง ตำบลท่าน้าว

ปรับปรุงเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๖
แหล่งข้อมูลผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอภูเพียง

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน : ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ๕๕๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐-๑ ต่อ ๑๓-๑๘ : โทรสาร ๐ ๕๔๗๑ ๑๖๕๐ email : nan-culture@hotmail.com

แชร์